1. ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์
การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสุขภาพของพ่อแม่สามารถส่งถึงลูกน้อยได้ หากคุณพ่อคุณแม่แข็งแรง มีสุขภาพดี ลูกน้อยก็มักจะแข็งแรงและปลอดภัย แต่ในคู่ที่มองข้ามในข้อนี้ไปก็อาจจะ ไม่ทราบว่า ตัวเองอาจจะมีโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปที่ลูกน้อยได้
2. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายยืดหยุ่นและที่สำคัญ คือ ได้ฝึกการหายใจ โดยในการออกกำลังกายนั้นจะต้องไม่หักโหมจนเกินไป ซึ่งการออกกำลังกายที่แนะนำคือ การเล่นโยคะ จะได้ทั้งในส่วนของกล้ามเนื้อ สุขภาพ และการฝึกการควบคุมการหายใจ โดยคุณแม่จะสามารถจดจำการควบคุมการหายใจนี้ไปใช้ตอนคลอดได้ด้วยนะคะ
3. เลือกอาหารที่มีประโยชน์
ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่า “อาหารเป็นปัจจัยสำคัญของการบำรุงร่างกายก่อนการตั้งครรภ์” อาหารที่เราควรเลือก ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างเช่น อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งสามารถหาได้จากผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีแดง เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอ และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีผลต่อระบบเซลล์สืบพันธุ์ เช่น อาหารที่มีรสหวาน อาหาร Junk Food ชา และกาแฟ
4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ ขาดการออกกำลังกาย มีผลกระทบต่อสุขภาพ ว่าที่คุณแม่คุณพ่อ ควรเตรียมคววามพร้อมในการมีลูกน้อย ด้วยการปรับพฤติกรรมประจำวัน เช่น นอนหลับพักผ่อนให้ได้วันละ 6-8 ชั่วโมง ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีให้ได้ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และที่สำคัญควรหากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดถือว่าเป็นตัวการสำคัญในการบ่อนทำลายทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ลามไปถึงคุณภาพของไข่ และเชื้ออสุจิอีกด้วย
5. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะ “การควบคุมน้ำนหนัก ไม่ใช่การลดน้ำหนัก” การควบคุมน้ำหนักที่คุณผู้หญิงควรทำเพื่อเตรียมตัวสำหรับการตั้งครรภ์นั้นเป็นการดูแลตัวเอง ควบคุมอาหาร และเลือกทานอาหารที่ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไปจนทำให้เข้าสู่ภาวะอ้วนซึ่งอาจจะส่งผลตามมาคือ “ภาวะมีบุตรยาก” ก็เป็นได้ค่ะ
Comentários